inverted yield curve หนักสุดรอบ 40 ปี จะเกิดภาวะเศรษฐกิจถดถอยหรือไม่
ภาวะเศรษฐกิจถดถอยกำลังจะมา เป็นความกังวลที่กำลังเกิดขึ้นในตลาดเงินตลาดทุน แต่จะหนักหนาสาหัสแค่ไหนและจะเกิดขึ้นจริงหรือไม่ ยังเป็นเรื่องเหนือการคาดเดา
ความเห็นของนายเจอโรม พาวเวล ประธานคณะกรรมการธนาคารกลางสหัฐ(เฟด) ทำให้นักลงทุนกลับมาจับตาอัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐอีกครั้ง เมื่อเกิด inverted yield curve มากที่สุดนับตั้งแต่ปี 1981 เมื่อวันอังคารที่ผ่านมา ซึ่งเป็นสัญญาณภาวะเศรษฐกิจถดถอย
เฟดเร่งขึ้นดอกเบี้ยเพื่อสกัดเงินเฟ้อตั้งแต่ปีที่ผ่านมา หลังจากเงินเฟ้อทะยานแตะระดับสูงสุดรอบ 40 ปี โดยเฟดมีเป้าหมายจะคุมเงินเฟ้อที่ 2%
inverted yield curve ติดลบมากที่สุดตั้งแต่ปี 1981
แต่ inverted yield curve กำลังจะบอกอะไรกับเรา?
inverted yield curve เกิดขึ้นเมื่ออัตราผลตอบแทนพันธบัตรระยะสั้นปรับขึ้นมากกว่าระยะยาว เกิดจากการคาดการณ์ของนักลงทุนที่ว่าอัตราดอกเบี้ยระยะสั้นจะปรับขึ้นและนักลงทุนเชื่อว่าต้นทุนกู้ยืมจะสูงขึ้น ซึ่งจะกระทบต่อเศรษฐกิจ หลังจากนั้นจะทำให้เฟดไม่มีทางเลือกอื่น ต้องปรับลดดอกเบี้ยกระตุ้นเศรษฐกิจ
ปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นกำลังเป็นที่จับตาของนักลงทุนว่าจะเกิดภาวะเศรษฐกิจถดถอยเหมือนที่เคยเกิดขึ้นในอดีตหรือไม่
inverted yield curve เพิ่มขึ้นเมื่อวันอังคารเมื่อวันที่ 7 มี.ค.ที่ผ่านมา หลังจากนายพาวเวลกล่าวกับครองเกรสว่าเฟดจำเป็นต้องขยับขึ้นดอกเบี้ยมากกว่าที่คาดการณ์ไว้ เนื่องจากข้อมูลทางเศรษฐกิจชี้ให้เห็นว่าเศรษบกิจสหรัฐเติบโตอย่างแข็งแกร่งและเงินเฟ้อยังคงสูง แม้ว่าเฟดจะลุยขึ้นดอกเบี้ยมาทั้งปีในช่วงที่ผ่านมา
อัตราผลตอบแทนพันธบัตรอายุ 2 ปี ทุบสถิติครั้งใหม่ที่ 5.015% สูงสุดตั้งแต่กลางปี 2007 ขณะที่ อัตราผลตอบแทนพันธบัตรอายุ 10 ปี ลดลง 1.5% ไปอยู่ที่ 3.968%
เส้นอัตราผลตอบแทน(yield curve) โดยทั่วไปแล้วจะเป็นเส้นชันขึ้นตามอายุพันธบัตร โดยเส้นผลตอบแทนจะตรงกันข้ามกับราคาพันธบัตร
เส้นชันขึ้นเป็นสัญญาณว่าตลาดคาดการณ์ว่ากิจกรรมทางเศรษฐกิจยังแข็งแกร่ง เงินเฟ้อสูง และอัตราดอกเบี้ยสูง ส่วนเส้นมีความชันน้อยกว่าหมายถึงว่านักลงทุนคาดว่าดอกเบี้ยระยะสั้นจะขยับขึ้น และมองว่าแนวโน้มเศรษฐกิจไม่ดีนัก
นักลงทุนจับตาอัตราผลตอบแทนพันธบัตร เพื่อจับสัญญาณว่าจะเกิดภาวะเศรษฐกิจถดถอย โดยดูส่วนต่างระหว่างอัตราผลตอบแทนพันธบัตร 3 เดือนและ 10 ปี และที่มักจะนิยมดูกันคือผลตอบแทนพันธบัตร 2 ปี กับ 10 ปี
ปัจจุบัน อัตราผลตอบแทนอายุถ 2 ปี มากกว่าอายุ 10 ปี ตั้งแต่เดือนก.ค.ที่ผ่านมา โดยความต่างมากถึง 1.03% ในวันอังคาร ซึ่งช่องห่างมากที่สุดแตั้งแต่เดือนก.ย. 1981 ซึ่งในช่วงเวลานั้น เศรษฐกิจเริ่มเข้าสู่ภาวะถดถอยในช่วงต้นปีจนกระทั่งถึงเดือนพ.ย. 1982 ซึ่งในครั้งนั้นเศรษฐกิจชะลอตัวมากที่สุดตั้งแต่วิกฤติเศรษฐกิจครั้งใหญ่ในปี 1930
อย่างไรก็ตาม การเกิด yield curve inversion ก็ไม่จำเป็นต้องเกิดภาวะถดถอยเสมอไป และส่วนต่างมากก็ไม่ได้หมายว่าภาวะถดถอยจะรุนแรงหรือกินเวลานาน เพียงแต่เป็นสัญญาณเตือนว่ากำลังจะเกิดภาวะเศรษฐกิจถดถอย ซึ่งส่วนมากจะกิจเวลา 6-12 เดือนหลัะงเกิดสัญญาณ
สำหรับ yield curve inversion ระหว่างพันธบัตรอายุ 3 เดือนกับ 10 ปี เกิดภาวะดังกล่าวในระหว่างการซื้อขายในเดือนก.ค.ที่ผ่านมา และเกิดขึ้นต่อเนื่องมาตั้งแต่ปลายเดือนต.ค. ซึ่งเป็นครั้งแรกตั้งแต่ต้นปี 2020
inversions ชี้ว่านักลงทุนคาดว่าอัตราดอกเบี้ยระยะสั้นสูงขึ้น และกำลังวิตกว่าเฟดจะมีความสามารถในการควบคุมเงินเฟ้อได้หรือไม่ โดยไม่กระทบต่อการเติบโตทางเศรษฐกิจ ซึ่งที่ผ่านมา เฟดได้ขึ้นดอกเบี้ยไปแล้ว 4.75% ตั้งแต่ปีที่ผ่านมา
จากสถิติ ตั้งแต่ปี 1900 เกิด inverted ทั้งสิ้น 28 ครั้ง และมีทั้งหมด 22 ครั้ง ที่ภาวะเศรษฐกิจถดถอยตามมา โดยภาวะถดถอย 6 ครั้งหลังสุด เกิดขึ้นหลังจาก yield curve inversion แล้ว 6-36 เดือน
ก่อนหน้านี้ เกิด curve inverted ในปี 2019 ตามมาด้วยภาวะถดถอยในปีถัดมา เมื่อเศรษฐกิจสหรัฐเข้าสู่ภาวะถดถอย รวมถึงช่วงที่เกิดจากการแพร่ระบาดของโควิด-19 ด้วย
ส่วนครั้งนี้ จะเกิดภาวะเศรษฐกิจถดถอยหรือไม่ และจะเกิดเมื่อไร เป็นเรื่องที่ยังต้องติดตาม แต่สัญญาณเกิดขึ้นเป็นระยะ เป็นสัญญาณเตือนให้ต้องระมัดระวัง